วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

   
ความเป็นมาของอาเซียน

อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Assciation of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ(The Bangkok Declaration ) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้ลงนามใน     
            
“ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคง ในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติของระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ในเวลาต่อมาได้มี บูรไนดารุสซาราม  (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 8 มกราคม 2527)สาธารณรัฐสังคมคมนิยมเวียดนาม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 28 กรกฎาคม 2538) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) สหภาพพม่า (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) ราชอาณาจักรกัมพูชา (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 เมษายน 2542) ตามลำดับทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10ประเทศ   

วัตถุประสงค์หลัก

                           ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
      1.  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี
           วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
      2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
      3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
      4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
      5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
      6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
      7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ  
          และองค์การระหว่างประเทศ
                        ตลอดระยะเวลา กว่า 40ปีที่มีการก่อตั้งอาเซียน ถือว่าได้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองเเละความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยได้รับ ประโยชน์อย่างมากจากความร่วมือต่างๆของอาเซียน   ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาค เป็นเสถียรภาพและสันติภาพ อันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมือด้านสังคมและ วัฒนธรรม ซึ่งถ้าหากไม่มีความร่วมมือเหล่านี้แล้ว คงเป็นการยากที่จะพัฒนาประเทศได้โดยลำพัง   

ประเทศสมาชิกอาเซียน

1. บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) 
     
    
ชื่อทางการ : เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei )
       

        

2. กัมพูชา (Cambodia) 
     
   
ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) 


3. อินโดนีเซีย (Indonesia) 
     
    
3ชื่อทางการ : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) 

4. ลาว (Laos) 
     
  
ชื่อทางการ : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People's Democratic Republic) 

5. มาเลเซีย (Malaysia)    

ชื่อทางการ : มาเลเซีย (Malaysia)
Monday, 31 May 2010 08:15

ประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ไทยมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า
Monday, 31 May 2010 08:15

ประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ไทยมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า

6.ไทย

7.พม่า

8.ฟิลิปปินส์

9.สิงค์โปร์

 10.และเวียดนาม

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ส้มตำ


ส้มตำ เป็นอาหารคาวของไทยอย่างหนึ่ง มีต้นกำเนิดไม่แน่ชัดโดยน่าจะมาจากภาคตะวันออกฉียงเหนือ ของไทยและ ประเทศลาว ส่วนมากจะทำโดยนำมะละกอดิบที่ขูดเป็นเส้น มาตำในครกกับ มะเขือเทศลูกเล็ก ถั่วลิสงคั่ว กุ้งแห้ง พริก และกระเทียม ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา ปูดองหรือปลาร้า ให้มีรสเปรี้ยว เผ็ด และออกเค็มเล็กน้อย นิยมกินกับข้าวเหนียวและไก่ย่าง โดยมีผักสด เช่น กะหล่ำปลี หรือถั่วฝักยาว เป็นเครื่องเคียง
ร้านที่ขายส้มตำ มักจะมีอาหารอีสานอย่างอื่นขายร่วมด้วย เช่น ซุปหน่อไม้ ลาบ ก้อย น้ำตก ไก่ย่าง ข้าวเหนียว เป็นต้น